ประวัติความเป็นมา


การเจริญเติบโตของสถานเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัว

              คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดรับนักศึกษาแพทย์รุ่นแรกในปีการศึกษา  2534 ปรัชญาของหลักสูตร คือ การมุ่งผลิตบัณฑิตแพทย์ให้มี ความรู้ ทักษะ และเจตคติที่สามารถปฏิบัติงานได้ในชุมชนต่าง ๆ ของประเทศไทย เน้นการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลักและการศึกษาที่ชุมชน(Problem-based learning: PBL และ Community-based learning: CBL) การดำเนินงานและการบริหารจัดการของคณะฯ ในระยะแรกแบ่งเป็น 2 สถาน ได้แก่ สถานวิทยาศาสตร์พรีคลินิก และสถานวิทยาศาสตร์คลินิก โดยสาขาเวชศาสตร์ชุมชนเป็นสาขาวิชาในสถานวิทยาศาสตร์คลินิก ต่อมาในปีพ.ศ. 2538 คณะฯ ได้เสนอให้แยกเป็นโครงการจัดตั้งสถานเวชศาสตร์ชุมชน ครอบครัว และเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ต่อทบวงมหาวิทยาลัย คณะ ฯ  ได้พิจารณาเรื่องนี้เป็นกรณีพิเศษและได้อภิปรายข้อดีและข้อจำกัด   ในที่สุดทบวงรับหลักการและเตรียมนำเสนอตามระบบราชการเพื่อประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกาต่อไป  แต่รัฐบาลลาออกก่อนนำเรื่องโครงการจัดตั้งสถานเวชศาสตร์ชุมชนฯ เข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร  เพื่อพิจารณาการจัดตั้งเป็นสถานเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัวฯ เรื่องนี้จึงพักไว้ก่อน

              เมื่อปี พ.ศ.2541 คณะฯมีนโยบายให้จัดตั้งสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว เพื่อตอบสนองนโยบายของประเทศ และตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 คณะฯได้ดำเนินการในทางปฏิบัติด้วยการแต่งตั้งหัวหน้าโครงการจัดตั้งสถานเวชศาสตรฺชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัว พร้อมกับมีเจ้าหน้าที่ธุรการประจำและดำเนินงานตามพันธกิจ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการเรียนการสอน ด้านวิจัย ด้านบริการวิชาการ และด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ภายใต้โครงสร้างของโครงการจัดตั้งสถานเวชศาสตร์ชุมชนฯ ตั้งแต่นั้นมา ต่อมาสาขาเทคโนโลยีทางการศึกษา ได้ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายคณะฯ ในปี พ.ศ. 2546  และเป็นอีก 1 สาขาวิชาที่อยู่ในโครงการจัดตั้งสถานเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัว  ปัจจุบันโครงสร้างการบริหารคณะฯ ได้บรรจุโครงการจัดตั้งสถานเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัวเป็นหน่วยงานหนึ่ง และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำคณะฯ แล้ว เมื่อเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยภายใต้กำกับของรัฐบาล  จะได้นำเสนอให้พิจารณาจัดตั้งเป็นสถานเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัว ต่อไป

              จากมติที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะ  ครั้งที่ 6/2555  วันที่ 27  กันยายน 2555 ได้อนุมัติให้สาขาเทคโนโลยีทางการศึกษารวมเข้ากับสาขาเวชศาสตร์ชุมชน ดังนั้นปัจจุบันโครงการจัดตั้งสถานฯ จึงมี 2 สาขา คือ สาขาเวชศาสตร์ชุมชนและสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว

              จากประกาศของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   เรื่อง การได้มาซึ่งบุคคลผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าสาขาวิชา หัวหน้าโครงการจัดตั้งภาควิชา และหัวหน้าโครงการจัดตั้งสถานเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัว (ฉบับที่ 3)  ที่ให้เปลี่ยนชื่อจาก “โครงการจัดตั้งสถานเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัว”  เป็น “สถานเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัว”  นับตั้งแต่วันที่ 19  มีนาคม 2558 เป็นต้นไป และจากประกาศนี้จึงได้เปลี่ยนจากโครงการจัดตั้งสถานฯ เป็นสถานเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัว

              จากมติที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2559 ได้รับรองการปรับโครงสร้างใหม่ของคณะแพทยศาสตร์ ภายใต้ พรบ.การออกนอกระบบของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้สถานเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัวเป็นอีกหนึ่งสถานของคณะฯ และได้รับการอนุมัติจากการประชุมสภามหาวิทยาลัย  ครั้งที่6/2560 เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2560 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

History

              The Faculty of Medicine, Thammasat University first enrolled medical students during the 1991 academic year. The curriculum is geared to produce graduates with the knowledge, skills and attitudes that will work in the communities of the country. It is a curriculum that focuses on problem-based learning (PBL) and community-based learning (CBL). The Faculty’s operations and management were initially structured as departments, namely the Department of Preclinical Sciences and the Department of Clinical Science, with the Discipline of Community Medicine as a discipline of the latter. In the year 1995, the Faculty proposed the creation of the Department of Community, Family and Emergency Medicine Establishment Program to the Ministry of University Affairs. A committee reviewed this as a special case, and discussed the advantages and constraints. Eventually, the Ministry accepted the principles of the proposal and prepared a presentation as per the governmental procedure to pass a related decree. Unfortunately, the government had resigned before the Establishment Program was taken to the House of Representatives. The Faculty has responded in practice by appointing heads of the Establishment Program since the year 2001, overseeing the work of the various affiliated fields, with full-time clerical officials; so the faculty members have been able to fulfill their duties as per the four missions under the Establishment Program. In the current management structure, the Department of Community Medicine and Family Medicine Establishment Program is under the Faculty of Medicine and has received approval of the Board of the Faculty to be considered becoming the Department of Community Medicine and Family Medicine when the University becomes an autonomous university and uses a new management system.

              The Discipline of Community Medicine was indeed established in 1990, as was the Faculty. As aforementioned, the Discipline was a part of the Department of Clinical Science. It teaches in the curriculum so that the graduates are in accordance with the philosophy of the Faculty of Medicine with between one and five courses of Community Medicine being taught to medical students in their second to sixth years, totaling 36 credits (including the Introduction to Problem-based Learning course of 14 credits). The curriculum’s adjustment in the year 1997 changed the number of credits that are responsible by Community Medicine to 24 credits. In the year 1998, the Discipline of Family Medicine affiliated with the Department of Clinical Science began four-credit teaching courses in family medicine in order to prepare and enable medical graduates to work appropriately during their internship in the reality of the rural areas of the country.

              When the curriculum was revised in 2004, the number of credits of community medicine and family medicine combined was reduced from the original 28 to 22 credits, and the teaching has been a collaboration of faculty members in Community Medicine and Family Medicine for medical students in five years from the second to the sixth years. Course titles are Holistic Health Care 1-5. The teaching by the faculty members is able to develop and convey a holistic knowledge to students well over a period of 20 years according to the Doctor of Medicine Program.


วิสัยทัศน์

              เป็นองค์กรแห่งความสุข และเป็นต้นแบบในการบูรณาการองค์ความรู้ทางเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัวเพื่อการจัดการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการ


พันธกิจ

  1. พัฒนาให้เป็นองค์กรแห่งความสุข
  2. บูรณาการองค์ความรู้ทางเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัว ด้านการจัดการเรียนการสอนที่เป็นต้นแบบให้แก่สถาบันการศึกษาอื่นๆ
  3. บูรณาการองค์ความรู้ทางเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัว ด้านการวิจัยที่เป็นต้นแบบให้แก่สถาบันอื่นๆ
  4. บูรณาการองค์ความรู้ทางเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัว ด้านการบริการที่เป็นต้นแบบให้แก่สถาบันอื่นๆ

              ในปีการศึกษา 2562 จำนวนอาจารย์ของสถานเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัว มี 20 คน จำแนกตามสาขาวิชา ตำแหน่งทางวิชาการและคุณวุฒิดังตาราง และมีเจ้าหน้าที่สายสนับสนุนจำนวน 5 คน

ตารางแสดงจำนวนคณาจารย์สถานเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัว

ในปีการศึกษา 2562 จำแนกตามสาขาวิชา ตำแหน่งทางวิชาการและคุณวุฒิทางการศึกษา (*)

อาจารย์จำแนกตาม
สาขาวิชา

รวม

ศาสตราจารย์

รองศาสตราจารย์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

อาจารย์

ปริญญาเอก

ปริญญาเอก

ปริญญาโท

ปริญญาเอก

ปริญญาโท

ปริญญาเอก

ปริญญาโท

ปริญญาตรี

สาขาเวชศาสตร์ชุมชน

14

1

2

1

4

1

2

2

1

สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว

6

1

4

1

*ปฏิบัติงานจริง 16 คน ลาศึกษาต่อในระดับปริญญาโท/ปริญญาเอก 4 คน

              In the academic year 2019, the number of instructors of the Establishment Program is 20, broken down by fields, academic ranks and qualifications in the table below, and there are five supporting officers.

              Table depicting the number of instructors of the Establishment Program in the academic year 2019, broken down by fields, academic ranks and qualifications *

Instructors by Field

Total

Professors

Associate Professors

Assistant Professors

Lecturers

Doctoral Degree

Doctoral Degree

Master’s Degree

Doctoral Degree

Master’s Degree

Doctoral Degree

Master’s Degree

Bachelor’s Degree

Community Medicine

14

1

2

1

4

1

2

2

1

Family Medicine

6

              –

1

4

1

* Actually working: 18 instructors; on leave for Ph.D. study or Residency Training : 2 instructors (10/5/2022)


รายชื่อหัวหน้าสถานเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัว

ลำดับที่

รายชื่อ ตั้งแต่วันที่

ตั้งแต่วันที่

1.

 รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กัมมาล กุมาร ปาวา

11 กุมภาพันธ์ 2546

 14 เมษายน 2547

2.

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์วิวัฒน์  พุทธวรรณไชย

15 เมษายน 2547

30 พฤศจิกายน 2548

3.

รองศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์สุรศักดิ์  บูรณตรีเวทย์

1 ธันวาคม 2548

30 เมษายน 2551

4.

รองศาสตราจารย์ ดร.สวนิต   อ่องรุ่งเรือง

1 สิงหาคม 2552

1 สิงหาคม 2554

5.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรีเมือง   พลังฤทธิ์

6 ตุลาคม 2554

31 พฤษภาคม 2555

6.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สวณี   เต็งรังสรรค์

11 มิถุนายน 2555

31 พฤษภาคม 2558

7.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สวณี   เต็งรังสรรค์

 1 มิถุนายน 2558

31 พฤษภาคม 2561

8.

รองศาสตราจารย์ ดร.ศรีเมือง   พลังฤทธิ์

 1 มิถุนายน 2561

31 พฤษภาคม 2564
 9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สวณี   เต็งรังสรรค์ 1 มิถุนาย 2564 ปัจจุบัน
 
 
 
 
 
 
 


รายชื่อหัวหน้าสาขาเวชศาสตร์ชุมชน

ลำดับที่

รายชื่อ

ตั้งแต่วันที่

ตั้งแต่วันที่

1.

อาจารย์ แพทย์หญิงสมบูรณ์   เกียรตินันทน์

พ.ศ.2533

กันยายน 2537

2.

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ทองจันทร์  หงศ์ลดารมภ์

ตุลาคม 2537

        พ.ศ. 2540

3. 

 ศาสตราจารย์ นายแพทย์เฉลิม  วราวิทย์ (รักษาการ)

 กันยายน 2540

พฤศจิกายน 2540

4.

รองศาสตราจารย์ ดร.สวนิต   อ่องรุ่งเรือง

พฤศจิกายน 2540

พฤศจิกายน 2541

5.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เพียงจันทร์  เศวตศรีสกุล

 พฤศจิกายน 2541

พฤษภาคม 2543

6.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรทิพย์  จินตกานนท์

 พฤษภาคม 2543

ธันวาคม 2543

7.

อาจารย์ สวณี   เต็งรังสรรค์

ธันวาคม 2543

กุมภาพันธ์ 2545

8.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชุมพจต์   อมาตยกุล

 กุมภาพันธ์ 2545

พ.ศ. 2546

9.

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กัมมาล กุมาร ปาวา (รักษาการ)

พ.ศ. 2546

กันยายน 2547

10.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สวณี   เต็งรังสรรค์

ตุลาคม 2547

พฤศจิกายน 2548

11. 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรีเมือง   พลังฤทธิ์

พฤศจิกายน 2548

31 พฤษภาคม 2552

12. 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรีเมือง   พลังฤทธิ์

 1 มิถุนายน 2552

31 พฤษภาคม 2555

13.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สวณี   เต็งรังสรรค์

1 มิถุนายน 2555

31 พฤษภาคม 2558

14.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สวณี   เต็งรังสรรค์

1 มิถุนายน 2558

31 พฤษภาคม 2561

15.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สวณี   เต็งรังสรรค์

1 มิถุนายน 2561

31 พฤษภาคม 2564

 16. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภิกา  แดงกระจ่าง

1 มิถุนายน 2564

ปัจจุบัน
 
 

รายชื่อหัวหน้าสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว

ลำดับที่

รายชื่อ

ตั้งแต่วันที่

ตั้งแต่วันที่

1.

อาจารย์ แพทย์หญิง นิตยา   วงศ์เสงี่ยม

23 พฤศจิกายน 2541

 30 ตุลาคม 2546

2.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์วิวัฒน์  พุทธวรรณไชย

10 กันยายน 2547

มกราคม 2549

3.

อาจารย์ นายแพทย์ฉัตรนรินทร์  เมธีกุล

26 มกราคม 2548

1 ธันวาคม 2549

4.

รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงนิตยา  ทนุวงษ์

29 ธันวาคม 2549

30 กันยายน 2551

5.

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์วิวัฒน์  พุทธวรรณไชย

1 ตุลาคม 2551

31 พฤษภาคม 2552

6.

 อาจารย์ แพทย์หญิงวิศรี    วายุรกุล

1 มิถุนายน 2552

31 พฤษภาคม 2555

7.

 อาจารย์ แพทย์หญิงวิศรี    วายุรกุล

1 มิถุนายน 2555

1 มีนาคม 2556

8.

อาจารย์ แพทย์หญิงเพชรรัตน์   บุนนาค

1 มิถุนายน 2556

31 พฤษภาคม 2558

9.

 อาจารย์ แพทย์หญิงนติมา   ติเยาว์

 1 มิถุนายน 2558

31 พฤษภาคม 2561

10.

อาจารย์ แพทย์หญิงวิศรี    วายุรกุล

1 มิถุนายน 2561

31 พฤษภาคม 2564
 11. อาจารย์ แพทย์หญิงเรือนขวัญ กัณหสิงห์ 1 มิถุนายน 2564

ปัจจุบัน

 
 
 
 
 

 


รายชื่อหัวหน้าสาขาเทคโนโลยีทางการศึกษา

ลำดับที่ รายชื่อ ตั้งแต่วันที่ ถึง
1.
2.
อาจารย์ สุภิกา  แดงกระจ่าง
อาจารย์ อภิชา น้อมศิริ
30 พ.ค 2546
30 พ.ค.2555
29.พ.ค. 2555

30 พ.ค. 2558