หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอด เพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม อนุสาขาอายุรศาสตร์โรคไต
หลักสูตร
(ภาษาไทย) หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอด เพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม อนุสาขาอายุรศาสตร์โรคไต
(ภาษาอังกฤษ) Fellowship Training in Nephrology
ชื่อวุฒิบัตร
ชื่อเต็ม
(ภาษาไทย) วุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมอนุสาขาอายุรศาสตร์โรคไต
(ภาษาอังกฤษ) Diploma of the Thai Subspecialty Board of Nephrology
ชื่อย่อ
(ภาษาไทย) วว. อนุสาขาอายุรศาสตร์โรคไต
(ภาษาอังกฤษ) Diploma, Thai Subspecialty Board of Nephrology
คำแสดงวุฒิการฝึกอบรมท้ายชื่อ
(ภาษาไทย) วว. อนุสาขาอายุรศาสตร์โรคไต
(ภาษาอังกฤษ) Diploma, Thai Subspecialty Board of Nephrology หรือ
Dip. Thai Subspecialty Board of Nephrology
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
หน่วยโรคไต ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พันธกิจของการฝึกอบรม
ในปัจจุบันผู้ป่วยโรคไตมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่จำนวนบุคลากรผู้เชี่ยวชาญในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไตยังมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของประเทศ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีพันธกิจหลักในการผลิตบุคลากรทางการแพทย์เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประเทศ จึงได้จัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดอนุสาขาอายุรศาสตร์โรคไตขึ้น
พันธกิจของหลักสูตร คือ การผลิตอายุรแพทย์โรคไตที่มีความรู้และทักษะเฉพาะด้านในสาขาโรคไต สามารถดูแลรักษา ป้องกัน ชะลอความก้าวหน้า และบำบัดทดแทนไต ได้แก่ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม การล้างไตทางช่องท้อง และการปลูกถ่ายไต มีความรู้ความเข้าใจในระบบสุขภาพของประเทศ การบริหารจัดการ กระบวนการคุณภาพและความปลอดภัย มีความรับผิดชอบ มีจริยธรรม ทัศนคติ และเจตคติที่ดีต่อผู้ป่วย ผู้ร่วมงาน และองค์กร มีทักษะการสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดี สามารถศึกษาหาความรู้ได้ด้วยตนเองและมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีความรู้เกี่ยวกับการวิจัยและเวชศาสตร์เชิงประจักษ์เพื่อให้สามารถสร้างงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาสาธารณสุขในอนาคต ทั้งนี้หลักสูตรมุ่งเน้นให้ผู้สำเร็จการฝึกอบรมดูแลผู้ป่วยโดยยึดถือผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางบนพื้นฐานของการดูแลแบบองค์รวมและเหมาะสมกับบริบทของสถานที่ปฏิบัติงานและสังคม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนและประเทศไทย
ผลลัพธ์ของการฝึกอบรม/หลักสูตร
ผู้ที่จบการฝึกอบรมเป็นแพทย์เฉพาะทางอนุสาขาอายุรศาสตร์โรคไตจากคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะต้องมีความรู้ความสามารถและคุณสมบัติ ตามสมรรถนะหลักทั้ง 6 ด้านดังนี้
- การดูแลรักษาผู้ป่วย (Patient Care)
- มีความรู้ทางคลินิกของโรคไตในแขนงวิชา general nephrology, renal replacement therapy, kidney transplantation, pathology และ radiology
- มีความรู้และทักษะการดูแลผู้ป่วยโรคไต ตั้งแต่การดูแลรักษาผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน ผู้ป่วยฉุกเฉิน และผู้ป่วยเวชบำบัดวิกฤต
- มีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคและสร้างเสริมสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับโรคไต
- มีความรู้ทางการแพทย์สนับสนุน (complementary medicine) ที่เกี่ยวข้องกับโรคไต
- ความรู้ความเชี่ยวชาญและความสามารถในการนำไปใช้แก้ปัญหาของผู้ป่วยและสังคมรอบด้าน (Medical knowledge and Skills)
- เข้าใจวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานของร่างกายและจิตใจที่เกี่ยวข้องกับโรคไต
- มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพ และเชี่ยวชาญด้านโรคไต
- การเรียนรู้จากการปฏิบัติและการพัฒนาตนเอง (Practice-based Learning and Personal Improvement)
- วิพากษ์บทความและงานวิจัยทางการแพทย์ได้
- ดำเนินการวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขได้
- การใช้ยาและทรัพยากรอย่างสมเหตุผล
- เรียนรู้และเพิ่มประสบการณ์ได้ด้วยตนเองจากการปฏิบัติ
- ทักษะปฏิสัมพันธ์ และการสื่อสาร (Interpersonal and Communication Skills)
- นำเสนอข้อมูลผู้ป่วย และอภิปรายปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
- ถ่ายทอดความรู้และทักษะให้แพทย์ นักศึกษาแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- สื่อสารให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและญาติ ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยมีเมตตา เคารพการ ตัดสินใจและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
- มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ทางานกับผู้ร่วมงานทุกระดับอย่างมีประสิทธิภาพ
- เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำแก่แพทย์และบุคคลากรอื่น โดยเฉพาะด้านอายุรศาสตร์โรคไต
- ความเป็นมืออาชีพ (Professionalism)
- มีคุณธรรม จริยธรรม และเจตคติอันดี ต่อผู้ป่วย ญาติ ผู้ร่วมงาน เพื่อนร่วมวิชาชีพ และชุมชน
- มีทักษะด้านที่ไม่ใช่เทคนิคทางการแพทย์ ได้แก่ ทักษะการตัดสินใจ ทักษะการประเมินสถานการณ์ และทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
- มีความสนใจใฝ่รู้และสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นผู้เรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต (Continuous Professional Development)
- มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
- คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม
- การปฏิบัติงานให้เข้ากับระบบ (System-based Practice)
- มีความรู้เกี่ยวกับระบบสุขภาพของประเทศและระบบยาของประเทศโดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโรคไต
- มีความรู้และมีส่วนร่วมในระบบพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วย
- มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วย
- มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสิทธิของผู้ป่วย
- ใช้ทรัพยากรสุขภาพอย่างเหมาะสม (Cost Consciousness Medicine) และสามารถปรับเปลี่ยนการดูแลรักษาผู้ป่วยให้เข้ากับบริบทของการบริการสาธารณสุขได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ