อ้อยแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์  : Saccharum officinarum L.

ชื่อวงศ์                : Poaceae

ส่วนที่ใช้เป็นยา   : ลำต้นทั้งสดหรือแห้ง

ลักษณะภายนอก :

ลำต้นแข็งแรง ต้นมีลักษณะคล้ายต้นอ้อยทั่วไป แต่จะมีสีม่วงแดง ถึงดำ มีไขสีขาวปกคลุม ไม่แตกกิ่งก้าน ลำต้นกลมยาว เห็นข้อและปล้องชัดเจน แต่ละปล้องอาจยาวหรือสั้นก็ได้  ผิวเรียบ เปลือกสีแดงอมม่วง มีตาออกตามข้อ ลำต้นแข็งเป็นมัน เนื้ออ่อน ฉ่ำน้ำ เปลือกมีรสขม น้ำไม่ค่อยหวานแหลมเหมือนอ้อยธรรมดา มักมีรากอากาศอยู่ประปราย

รสยาและสรรพคุณยาไทย :

รสหวานและขม แก้ปัสสาวะพิการ แก้ขัดเบา ลำต้นทั้งสดหรือแห้ง ขับปัสสาวะ รักษาโรคนิ่ว อาการไอ แก้ไข้ คอแห้ง กระหายน้ำ แก่น ผสมกับแก่นปีบ หัวยาข้าวเย็น ต้มดื่มเป็นยาอายุวัฒนะ ยาฟอกเลือด แก้ช้ำบวม กินแก้เบาหวาน แก้ไอ ขับเสมหะ เปลือกต้น รสหวานขม แก้ตานขโมย แก้แผลเน่าเปื่อย แผลกดทับ ชานอ้อย รสจืดหวาน แก้แผลเรื้อรัง แก้ฝีอักเสบบวม ลำต้น น้ำอ้อย รสหวานขมชุ่ม แก้ร้อนใน ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้หืด ไอ แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ไข้สัมประชวน แก้ปัสสาวะพิการ แก้ไตพิการ แก้หนองใน ขับนิ่ว แก้ช้ำรั่ว แก้ท้องผูก บำรุงกระเพาะอาหาร แก้ขัดเบา บำรุงธาตุ แก้สะอึก แก้เมาค้าง ท้องผูก รักษานิ่ว บำรุงกำลัง ทำให้เจริญอาหาร เจริญธาตุ รักษาตามืดฟาง กำเดา อาการอ่อนเพลีย ผายธาตุ  ตา รสหวานขม แก้ตัวร้อน แก้พิษตานซาง บำรุงธาตุน้ำ บำรุงกำลัง ขับปัสสาวะ ราก ใช้รักษาไส้ใหญ่แตกพิการ ทำให้วิงเวียนหน้ามืดตาลาย ทำให้เจ็บหลังเจ็บเอว ท้องอืด บำรุงกำลัง บำรุงโลหิต รักษาอาการอ่อนเพลีย และรักษาเลือดลม

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา :
ขับปัสสาวะ ใช้ลำต้นสด  1  กำมือ  สดหนัก  70-90  กรัม  แห้งหนัก  30-40  กรัม  หั่นเป็นชิ้นๆ ต้มกับน้ำแบ่งรับประทาน 3 ครั้ง ก่อนอาหาร ครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร)

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ :

มีรายงานว่าอ้อยแดงมีฤทธิ์ขับปัสสาวะในหมูขาว และกองวิจัยทางแพทย์กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์รายงานว่าไม่มีพิษเฉียบพลัน

ที่มา :

ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชเวชกรรม โดย กองการประกอบโรคศิลปะสำนักงาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข

Copyright © 2017. All rights reserved.