สีเสียดเหนือ

ชื่อวิทยาศาสตร์  : Acacia catechu (L.f.) Willd.

ชื่อวงศ์                : Leguminosae

ส่วนที่ใช้เป็นยา   : ก้อนสีเสียด (ก้อนสีเสียดเป็นสิ่งสกัดที่ได้จากการนำเนื้อไม้มาตัดให้เป็นชิ้นเล็กๆ ต้มกับน้ำกรอง และเคี่ยวให้งวด จะเหลือก้อนแข็ง สีดำ และเป็นเงา)

ลักษณะภายนอก :

ได้จากการนำแก่นต้นสีเสียด สับให้เป็นชิ้นๆ แล้วต้ม และเคี่ยว หลังจากนั้นระเหยน้ำที่ต้มได้ให้เหนียวข้น จะได้ของแข็งเป็นก้อน สีน้ำตาลดำ เป็นมัน แข็ง รูปร่างไม่แน่นอน ผิวนอกหยาบ มีด้านในด้านหนึ่งที่แตกจะมันวาว ไม่มีกลิ่น รสขม ฝาดจัด

รสยาและสรรพคุณยาไทย :

มีฤทธิ์ฝาดสมาน

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา :

  • ก้อนสีเสียดช่วยฝาดสมาน
  • แก้อาการท้องเดิน
    ใช้ผงประมาณ 1/3 -1/2 ช้อนชา (หนัก 0.3-1 กรัม) ต้มเอาน้ำดื่ม
  • แก้แผลเรื้อรัง
    ใช้เปลือกต้น ต้มกับน้ำ ใช้ล้างแผล หัวนมแตก ใช้ล้างแผล แก้แผลเน่าเปื่อยเรื้อรัง น้ำกัดเท้า
  • แก้โรคหิด
    ใช้เมล็ดฝัก ฝนทาแก้โรคหิด แผลน้ำกัดเท้า

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ :

ก้อนสีเสียดประด้วย catechin 2-20%, catechu-tannic acid 25-35%, epicatechin, dicatechin, และสารอื่นๆ เนื่องจากมีปริมาณของ tannin สูงจึงมีฤทธิ์ฝาดสมาน ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (แต่ต้องระวังขนาดที่ใช้ ถ้าใช้มากจะเกิดอาการข้างเคียงได้)

ที่มา :

ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชเวชกรรม โดย กองการประกอบโรคศิลปะสำนักงาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข

Copyright © 2017. All rights reserved.