สับปะรด

ชื่อวิทยาศาสตร์  : Ananas comosus (L.) Merr.

ชื่อวงศ์                : Bromeliaceae

ส่วนที่ใช้เป็นยา   : เหง้าทั้งสดและแห้ง

ลักษณะภายนอก :

ไม้ล้มลุก สูง 90-100 ซม. ลำต้นใต้ดิน ปล้องสั้น ไม่แตกกิ่งก้านมีแต่กาบใบห่อหุ้มลำต้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนถี่ ไม่มีก้านใบ ใบเรียวยาว โคนใบเป็นกาบหุ้มลำต้น ปลายแหลม ขอบใบมีหนาม แผ่นใบสีเขียวเข้มและเป็นทางสีแดง ด้านล่างมีนวลแป้งสีขาว ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกเรียงอัดกันแน่นรอบแกนช่อดอก ก้านช่อใหญ่แข็งแรง กลีบดอก 3 กลีบ ด้านบนสีชมพูอมม่วง ด้านล่างสีขาว เกสรเพศผู้ 6 อัน เรียบกัน 2 ชั้น ผล เป็นผลรวมรูปรี โคนกว้าง ปลายสอบ มีใบสั้นเป็นกระจุกที่ปลายผล เรียกว่าตะเกียง ผลสุกสีเหลืองสดและฉ่ำน้ำ

รสยาและสรรพคุณยาไทย :

รสหวานเย็น ช่วยขับปัสสาวะ

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา :

  • สำหรับการบริโภคสับปะรดที่เหมาะสมต่อวัน คือ เนื้อสับปะรด 2 ชิ้น ซึ่งจะมีวิตามินซีอยู่ประมาณ 100 มิลลิกรัม สับปะรดที่ถูกแปรรูปแล้ว และอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น น้ำสับปะรด ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมักมีสารโบรมีเลนอยู่ประมาณ 500 มิลลิกรัม
  • สำหรับการใช้สารโบรมีเลนที่เป็นสารสกัดจากสับปะรดเพื่อผลทางการรักษา ต้องอยู่ภายใต้ดุลยพินิจของแพทย์เท่านั้น ซึ่งแพทย์จะพิจารณาปริมาณตามความเหมาะสม (โดยปริมาณทั่วไปอยู่ที่ครั้งละ 40 มิลลิกรัม 3-4 ครั้ง/วัน) ส่วนในขนาดการใช้ตามตำราสมุนไพรคือ แก้อาการขัดเบา ช่วยขับปัสสาวะ ใช้เหง้าสดหรือแห้งวันละ 1 กำมือ (สดหนัก 200-250 กรัม แห้งหนัก 90-100 กรัม) ต้มกับน้ำดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร) วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร บรรเทาอาการปวดของโรคเกาต์ โดยทานสับปะรด 1/4 ผล (ขนาดเล็ก) วันละ 2-3 ครั้ง หลังอาหาร 1 ชั่วโมงครึ่ง

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ :

ลำต้น มี Bromelain, Peroxidase, Amylase, Proteinase

ใบ มี Hemicellulose, Bromelain, Campestanol

ผล มี Acetaldehyde, Ethyl acetate, Acetone

น้ำมันหอมระเหย มี Isobutanol

ที่มา :

ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชเวชกรรม โดย กองการประกอบโรคศิลปะสำนักงาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข

Copyright © 2017. All rights reserved.