เร่ว

ชื่อวิทยาศาสตร์  : Amomum xanthioides Wall.

ชื่อวงศ์                : Zingiberaceae

ส่วนที่ใช้เป็นยา   : เมล็ดแห้ง

ลักษณะภายนอก :

ผลเรียวยาวหรือขอบขนานแกมสามเหลี่ยม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. มีขนอ่อนสีน้ำตาลแดงปกคลุม ภายในมีเมล็ดเป็นกลุ่ม 10-20 เมล็ด จับกันเป็นกลุ่มก้อนกลม หรือกลมรี มี 3 พู เมล็ดรูปร่างไม่แน่นอน มีหลายเหลี่ยมและเป็นสันนูน สีน้ำตาลเข้มหรือสีน้ำตาลดำ ผิวนอกเรียบมีเยื่อบางหุ้ม ปลายแหลมของเมล็ดมีรูเห็นเด่นชัด เมล็ดแข็ง เนื้อในเมล็ดสีขาวอมเหลือง ผลมีรสมันเฝื่อนติดเปรี้ยว เมล็ด รสร้อนเผ็ดปร่า

รสยาและสรรพคุณยาไทย :

รสเผ็ดปร่า แก้คลื่นเหียนอาเจียน และขับผายลม

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา :

แก้อาการท้องอืดเฟ้อ ขับลมแน่นจุกเสียด นำเมล็ดในจากผลแก่มาบดเป็นผง รับประทานครั้งละ 1-3 กรัม (ประมาณ 3-9 ผล) วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ :

          ในเมล็ดเร่วมีน้ำมันหอมระเหย ในน้ำมันมีสาร Borneol, Camphor, และ Geraneol เป็นต้น ไม่พบพิษเฉียบพลัน

ที่มา :

ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชเวชกรรม โดย กองการประกอบโรคศิลปะสำนักงาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข

Copyright © 2017. All rights reserved.