ผักคราดหัวแหวน

ชื่อวิทยาศาสตร์  : Spilanthes acmella (L.) L.

ชื่อวงศ์                : Compositae

ส่วนที่ใช้เป็นยา   : ดอกสด ราก เมล็ด ทั้งต้น

ลักษณะภายนอก :

เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก อายุปีเดียว ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขา สูงประมาณ 20-30 เซนติเมตร หรือทอดไปตามดินเล็กน้อย แต่ปลายชูขึ้น ลำต้นกลมอวบน้ำ มีสีเขียวม่วงแดงปนเข้ม ลำต้นอ่อน มีขนปกคลุมเล็กน้อย ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปสามเหลี่ยม รูปไข่ หรือรูปใบหอกแกมรูปไข่ ขอบใบเรียบ หรือจักเป็นฟันเลื่อยแบบหยาบๆ ผิวใบสากมีขน ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบ และปลายกิ่ง เป็นกระจุกสีเหลือง ลักษณะกลม รูปไข่ ปลายแหลมคล้ายหัวแหวน ยาว 8 มิลลิเมตร กลีบดอกรูปรางน้ำ

รสยาและสรรพคุณยาไทย :

รสเผ็ด ใช้ดอก ชาลิ้น เป็นยาขับน้ำลาย แก้โรคในคอ รักษาแผลในปากคอ แก้ปวดฟัน (ใช้ดอกตำกับเกลืออมหรือกัดไว้บริเวณที่ปวด หรือใช้ดอกตำผสมกับเหล้าโรงเล็กน้อย ชุบสำลีอุดรูฟันที่ปวด) รำมะนาด แก้โรคลิ้นเป็นอัมพาต แก้โรคติดอ่างในเด็ก แก้ปวดศีรษะ ใบ รสชาติหวาน ขม เอียน เบื่อเล็กน้อย ชาลิ้น ใช้เคี้ยวเป็นยาแก้วปวดฟัน ยาชา แก้พิษตามทวาร แก้ริดสีดวง แก้ผอมเหลือง แก้เด็กตัวร้อน แก้ปวดหัว แก้โลหิตเป็นพิษ รักษาแผล ยาผายลมเด็กแก้ท้องอืดเฟ้อ แก้สำรอกของเด็ก แก้อัมพาต ยาถ่ายสำหรับเด็ก แก้พุพอง แก้ตกเลือด แก้มึน แก้ตาฟาง แก้ฝีดาษ ต้นสด ตำผสมเหล้า หรือน้ำส้มสายชู อมแก้ฝีในคอ ต่อมน้ำลายอักเสบ แก้ไข้แก้ปวดฟัน  รสเผ็ดร้อน ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับลม ช่วยย่อยอาหารได้ ทั้งต้น มีรสเอียนเบื่อเล็กน้อย แก้พิษตานซาง แก้ริดสีดวง แก้ผอมเหลือง แก้เด็กตัวร้อน แก้บิด แก้เลือดออกตามไรฟัน ทั้งต้น  ชงดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ แก้หอบไอ ระงับหอบ แก้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง แก้ปอดบวม แก้ไอกรน ไขข้ออักเสบ ตำพอกแก้พิษปวดบวม แก้งูและสุนัขกัด ทั้งต้นตำผสมสุรา ชุบสำลีอม แก้ฝีในคอ แก้คออักเสบ แก้ต่อมทอนซิลอักเสบ แก้คันคอ ผสมขมิ้นอ้อย และเกลือสะตุ กวาดคอเด็กแก้ตัวร้อน แก้ตับอักเสบ แก้ดีซ่าน ทั้งต้นต้มดื่ม แก้ปวดท้องหลังคลอด แก้ชอกช้ำภายในทรวงอก เจ็บปวดสีข้าง เป็นยาชาเฉพาะที่ ทั้งต้นตำพอก แก้พิษปวดบวม มีฤทธิ์ฆ่าตัวอ่อนยุง ใช้เบื่อปลา น้ำต้มราก รสเอียน เบื่อเล็กน้อย เป็นยาถ่าย ใช้เป็นยาอมบ้วนปาก แก้อาการอักเสบในช่องปาก แก้อาการอักเสบ และเจ็บคอ  เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ แก้ปวดศีรษะ แก้คัน ราก ใช้เคี้ยวแก้ปวดฟัน ผล ปรุงเป็นยาแก้ร้อนใน เมล็ด เคี้ยวแก้ปากแห้ง เป็นยาขับน้ำลาย

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา :

ใช้เป็นยาภายใน ต้มแห้งหนัก 3.2- 10 กรัม ต้มน้ำดื่ม หรือบดเป็นผงหนัก 0.7- 1 กรัม รับประทานกับน้ำ หรือผสมกับเหล้ารับประทาน ใช้เป็นยาภายนอก ต้นสดตำพอก หรือเอาน้ำทาถู หรือใช้ต้นสด 1 ต้น ตำให้ละเอียด เติมเกลือ 10 เม็ด คั้นน้ำ ใช้สำลีพันไม้ชุบน้ำยาจิ้มลงในซอกฟัน ทำให้หายปวดฟันได้

หรือใช้รักษาตามอาการของโรค เช่น รักษาไข้จับสั่น-ผักคราดหัวแหวน 1 ตำลึง ต้มน้ำใส่น้ำตาลแดง กรองเอาน้ำดื่ม ใช้เป็นยาถ่าย ใช้รากแห้ง 4-8 กรัม ต้มในน้ำ 1 ถ้วยกิน และใช้ต้มเอาน้ำอมบ้วนปาก แก้อาการอักเสบในช่องปากและเจ็บคอ นอกจากนี้อาจใช้ก้านขยี้ทาแผลในปากเด็ก ซึ่งเกิดเนื่องจากร้อนใน ใช้แก้ปวดฟัน ใช้ดอกตำกับเกลืออมหรือกัดไว้บริเวณที่ปวดฟัน หรือใช้ก้านสดมาเคี้ยวตรงบริเวณฟันซี่ที่ปวด เพื่อให้น้ำจากก้านซึมเข้าไปตรงที่ปวด จะทำให้ชาสามารถระงับอาการปวดฟันได้ดี  ถ้าฟันที่ปวดเป็นรู ใช้ขยี้ให้เละ อุดเข้าไปในรูนั้น สักครู่จะทำให้ชาและหายปวด แก้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ใช้ต้นแห้งบดเป็นผง ทำเป็นยาน้ำเชื่อม (ในน้ำเชื่อม 10 มล. มีเนื้อยานี้ 3.2 กรัม) กินครั้งละ 30 มล. วันละ 2 ครั้ง  ผิวหนังเป็นผื่นฝีตุ่มพิษ-ผักคราดหัวแหวนตำกับเหล้า ใช้พอกหรือทาฝีแผลเรื้อรังหายยาก-ผักคราดหัวแหวน ตำแหลกเอาน้ำผสมน้ำมันชาทาหรือพอก  ฝีตะมอยหัวนิ้วมือนิ้วเท้า-ผักคราดหัวแหวน หญ้าดอกตูบ  ตะขาบบิน อย่างละเท่าๆ กัน ตำแหลก แล้วพอก ถ้าแผลแตกก็ตำใส่น้ำผึ้งพอก

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ :

          ใบกะเพรามีน้ำมันหอมระเหยประมาณ 0.35% ประกอบด้วยสารสำคัญ คือ Camphor, Cined, Eugenol, Limonene, Pinene, Sabinene, Terpineol, Ocimol, Linalool, และกรดอินทรีย์หลายชนิด การทดลอง พบว่าน้ำมันหอมระเหยมีฤทธ์ขับลม ลดการบีบตัวของลำไส้ และสาร Engenol มีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมันและลดอาการจุกเสียด

ที่มา :

ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชเวชกรรม โดย กองการประกอบโรคศิลปะสำนักงาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข

Copyright © 2017. All rights reserved.