กระทือ

ชื่อวิทยาศาสตร์  : Boesenbergia pandurata (Roxb.) Schltr.

ชื่อวงศ์                : Zingiberaceae

ส่วนที่ใช้เป็นยา   : เหง้าใต้ดินและราก

ลักษณะภายนอก :

เหง้าสั้น (เรียก “กระโปกกระชาย”) มีรากสด แตกออกจากเหง้าเป็นกระจุกจำนวนมาก อวบน้ำ ตรงกลางพองกว่าส่วนหัวและท้าย รูปทรงกระบอก ปลายเรียวแหลม (เรียก “นมกระชาย”) กว้าง 1-2 ซม. ยาว 4-10 ซม. ผิวสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในสีเหลือง มีรสเผ็ดร้อน ขม กลิ่นหอมฉุน

รสยาและสรรพคุณยาไทย :

รสขมและขื่นเล็กน้อย ขับลม แก้ปวดมวนแน่นท้อง แก้บิด บำรุงน้ำนม

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา :

  1. แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด และปวดท้อง

ใช้เหง้า หรือรากประมาณครึ่งกำมือ(น้ำหนักสด 5-10 กรัม แห้ง 3-5 กรัม) ทุบพอแตกต้มกับน้ำพอเดือด ดื่มแต่น้ำ หรือปรุงอาหารรับประทาน

  1. แก้บิด (ปวดเบ่งและมีมูกหรืออาจมีเลือดด้วย)

ใช้เหง้าหรือหัวสดครั้งละ 2 หัว (ประมาณ 15 กรัม) ย่างไฟพอสุก ตำกับน้ำปูนใส คั้นเอาน้ำดื่ม

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ :

เหง้ากระชายมีน้ำมันหอมระเหยประมาณ 0.08% ในน้ำมันหอมระเหยมีสารหลายชนิด เช่น 1,5-Cineol, Boesenbergin A, dl-Pinostrobin Corphor เป็นต้น และยังมีสาร Flavonoid และ Chromene ด้วย

ที่มา :

ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชเวชกรรม โดย กองการประกอบโรคศิลปะสำนักงาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข

Copyright © 2017. All rights reserved.