กะเพรา

ชื่อวิทยาศาสตร์  : Ocimum tenuiflorum L.

ชื่อวงศ์                : Labiatae

ส่วนที่ใช้เป็นยา   : ใบที่สมบูรณ์เต็มที่ นิยมใช้กะเพราแดงมากกว่ากะเพราขาว

ลักษณะภายนอก :

ใบและลำต้นมีสีเขียวอมม่วงแดง ใบทั้งสองด้านมีขนมากโดยเฉพาะส่วนยอด เนื้อใบบาง ใบรูปร่างรีหรือรีขอบขนาน กว้าง 1-2.5 เซนติเมตร ยาว 2-4.5 เซนติเมตร ปลายใบและโคนใบอาจแหลมหรือมน ขอบใบค่อนข้างหยัก ใบและยอดรสเผ็ดร้อน มีกลิ่นหอม

รสยาและสรรพคุณยาไทย :

กลีบรองดอก กลีบเลี้ยงใบและใบ มีรสเปรี้ยว ใช้เป็นยากัดเสมหะ

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา :

  1. ลดอาการท้องอืดเฟ้อ ขับลม ปวดท้อง ใช้ใบสด 1 กำมือ  (น้ำหนักสดประมาณ  25 กรัม  หรือใบแห้ง  4  กรัม  ต้มให้เดือด เอาแต่น้ำดื่ม หรือจะใช้ใบกะเพราะแห้ง ชงกับน้ำดื่มเป็นยาขับลม ถ้าป่นเป็นผงให้ชงกับน้ำรับประทาน ในเด็กอ่อนใช้ใบสด ใส่เกลือเล็กน้อยบดให้ละเอียดผสมน้ำผึ้งหยอดให้เด็กอ่อนเพิ่งคลอด 2-3 หยด เป็นเวลา 2-3 วัน จะช่วยขับลมและถ่ายขี้เทา
  2. แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน (เกิดจากธาตุไม่ปกติ) ใช้ใบและยอดสด 1  กำมือ (ประมาณ 25 กรัม) ต้มเอาน้ำดื่ม

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ :

          ใบกะเพรามีน้ำมันหอมระเหยประมาณ 0.35% ประกอบด้วยสารสำคัญ คือ Camphor, Cined, Eugenol, Limonene, Pinene, Sabinene, Terpineol, Ocimol, Linalool, และกรดอินทรีย์หลายชนิด การทดลอง พบว่าน้ำมันหอมระเหยมีฤทธ์ขับลม ลดการบีบตัวของลำไส้ และสาร Engenol มีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมันและลดอาการจุกเสียด

ที่มา :

ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชเวชกรรม โดย กองการประกอบโรคศิลปะสำนักงาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข

Copyright © 2017. All rights reserved.