พญายอ

ชื่อวิทยาศาสตร์  : Clinacanthus nutans (Burm.f.) Lindau

ชื่อวงศ์                : Acanthaceae

ส่วนที่ใช้เป็นยา   : ใบ

ลักษณะภายนอก :

ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ ลักษณะใบรูปใบหอกยาวแคบๆ ปลายใบยาวแหลม ไม่มีหนาม โคนใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบสีเขียว ขนาดยาว 7-9 ซม. กว้าง 2-3 ซม. ก้านใบยาว 0.5 ซม.

รสยาและสรรพคุณยาไทย :

รสจืด

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา :

  • ทาบริเวณที่แมลงสัตว์กัดต่อยเป็นผื่นคัน ใช้ใบสด 5-10 ใบ ตำขยี้ทาบริเวณที่เป็นแผลที่แพ้ จะยุบหายได้ผลดี
  • แก้แผลน้ำร้อนลวก ใช้ใบตำเคี่ยวกับน้ำมะพร้าวหรือน้ำมันงา เอากากพอกแผลที่ถูกน้ำร้อนลวกหรือไฟไหม้ แผลจะแห้ง นำใบมาตำให้ละเอียดผสมกับสุรา ใช้พอกบริเวณที่ถูกไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก มีสรรพคุณดับพิษร้อนได้ดี
  • รักษาอาการอักเสบ ถอนพิษ รักษาแผลร้อนในในปาก เริม งูสวัด ใช้ใบเสลดพังพอนตัวเมียสด 10-20 ใบ (เลือกใบสีเขียวเข้มสดเป็นมันไม่อ่อนไม่แก่จนเกินไป)นำมาตำผสมกับเหล้าหรือน้ำมะนาว คั้นเอาน้ำดื่มหรือเอาน้ำทาแผลและเอากากพอกแผล ใช้ใบเสลดพังพอน 1,000 กรัม หมักใน alcohol 70 % 1,000 ซีซี. หมักไว้ 7 วัน นำมากรองแล้วเอาไประเหยให้เหลือ 500 ซีซี. เติม glycerine pure ลงไปเท่ากับจำนวนที่ระเหยไป (500 ซีซี.) นำน้ำยาเสลดพังพอนกรีเซอรีนที่ได้ทาแผลเริม งูสวัด แผลร้อนในปาก ถอนพิษต่างๆ
  • ใช้เป็นยาลดไข้ ด้วยการใช้ใบสด 1 กำมือ ตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำซาวข้าว ใช้พอกบนศีรษะคนไข้ประมาณ 30 นาที อาการไข้และอาการปวดศีรษะจะหายไป
  • ช่วยแก้อาการผิดสำแดง (กินอาหารแสลงไข้ แล้วทำให้โรคกำเริบ) ด้วยการใช้รากสดนำมาต้มกินครั้งละประมาณ 2 ช้อนแกง
  • ใช้เป็นยาแก้เจ็บคอ ด้วยการนำใบสดมาเคี้ยวประมาณ 10 ใบ กลืนเอาแต่น้ำยาพอให้ยาจืด แล้วจึงคายกากทิ้ง
  • แก้คางทูม ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 10-15 ใบ ตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าโรง คั้นเอาน้ำมาทาบริเวณที่บวม อาการบวมจะหายไป และอาการเจ็บปวดจะหายไปภายใน 30 นาที
  • ใช้แก้ฝี ด้วยการใช้ใบนำมาโขลกผสมกับเกลือและเหล้า ใช้พอกบริเวณที่เป็น เปลี่ยนยาทุกเช้าและเย็น
  • รักษาอาการเนื่องจากแมลงกัดต่อย และเริมตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขนั้น  ให้ใช้ใบขยี้ทาบริเวณที่ถูกแมลง สัตว์ กัดต่อย หรือเป็นเริมและสำหรับครีม ที่มีสารสกัดพญายอร้อยละ 4 – 5   และสารละลาย (สำหรับป้ายปาก) ที่มีสารสกัดพญายอในกลีเซอรีนร้อยละ 2.5 – 4 รวมถึงโลชัน ที่มีสารสกัดพญายอร้อยละ 1.25  ให้ใช้  ทาบริเวณที่มีอาการ วันละ 5 ครั้ง

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ :

          ใบกะเพรามีน้ำมันหอมระเหยประมาณ 0.35% ประกอบด้วยสารสำคัญ คือ Camphor, Cined, Eugenol, Limonene, Pinene, Sabinene, Terpineol, Ocimol, Linalool, และกรดอินทรีย์หลายชนิด การทดลอง พบว่าน้ำมันหอมระเหยมีฤทธ์ขับลม ลดการบีบตัวของลำไส้ และสาร Engenol มีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมันและลดอาการจุกเสียด

ที่มา :

ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชเวชกรรม โดย กองการประกอบโรคศิลปะสำนักงาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข

Copyright © 2017. All rights reserved.