เกี่ยวกับสาขา

ประวัติความเป็นมา

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มีการจัดตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2528 ซึ่งขณะนั้น ศาตราจารย์ คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี ดำรงตำแหน่งอธิการบดี และได้มีการสานต่อในสมัยศาสตราจารย์เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม ดำรงตำแหน่งอธิการบดีในปี พ.ศ.2531 ซึ่งสภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติโครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ ในเดือน สิงหาคม 2531 และได้รับการอนุมัติการจัดตั้งจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ.2533 โดยทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐได้ให้ความเห็นชอบอนุมัติหลักสูตรแนวใหม่ คือ การใช้ปัญหาเป็นฐานและเน้นการศึกษาที่ชุมชนเป็นหลัก (Problem based learning and community-oriented) พร้อมเสนอแนะการบริหารแบบศูนย์กลาง โดยไม่มีภาควิชา ต่อมาได้มีประกาศพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ.2533 นับเป็นคณะที่ 11 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นคณะแพทยศาสตร์ที่ 9 ของประเทศไทย โดยคณบดีคนแรกของคณะแพทยศาสตร์ คือ ศาสตร์จารย์นายแพทย์ อารี วัลยะเสวี ซึ่งท่านได้ริเริ่มการแบ่งส่วนราชการภายในคณะโดยยึดหลักความกะทัดรัด คล่องตัว และการประสานงาน ดังนั้นจึงไม่มีการแบ่งหน่วยงานเป็นภาควิชาต่างๆ แต่ได้มีการกำหนดให้เป็น “สถานวิทยาศาสตร์” ตามประกาศของทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2533 สถานวิทยาศาสตร์คลินิก จะประกอบด้วยสาขาวิชาต่างๆ 14 สาขาวิชา ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีการปรับปรุงส่วนราชการใหม่ โดยการแยกโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ ออกจากคณะแพทย์ แต่สถานวิทยาศาสตร์คลินิกก็ยังคงเป็นส่วนราชการในคณะแพทยศาสตร์อยู่ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ กัมมาล กุมาร ปาวา เป็นคณบดี ในปลายปี การศึกษา 2547 คณะแพทยศาสตร์ มีนโยบายในการจัดตั้งภาควิชาขึ้น สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา ได้เปลี่ยนชื่อเป็นโครงการจัดตั้งภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา และเริ่มมีการแบ่งงานของเจ้าหน้าที่สายสนับสนุนวิชาการในแยกไปปฏิบัติหน้าที่ประจำโครงการจัดตั้งภาควิชาต่างๆ

ปรัชญา

ปรัชญา

ผลิตบัณฑิตแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญ บริหารงานวิจัย ใส่ใจประชาชน

วิสัยทัศน์

วิสัยทัศน์

เป็นภาควิชาที่มีมาตรฐานด้านการเรียนการสอน การบริการวิชาการ และการวิจัยทางด้านสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์

· จัดการเรียนการสอนด้านสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา แก่นักศึกษาแพทย์ตามมาตรฐานแพทยสภา
· สนับสนุนการดำเนินงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง
· ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

พันธกิจ

ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีพันธกิจสอดคล้องตามที่ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทยกำหนดคือ เพื่อฝึกอบรมวิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาซึ่งเป็นสาขาวิชาทางการแพทย์เฉพาะทางที่ต้องอาศัยความรู้อย่างกว้างขวางและลึกซึ้งร่วมกับความสามารถในการทำหัตถการที่ประณีตและซับซ้อน ในการดูแลสุขภาพของสตรีวัยก่อนเจริญพันธุ์ วัยเจริญพันธุ์ และวัยหมดประจำเดือน แพทย์ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเพื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญสาขาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาจึงควรมีความรู้ครอบคลุมเนื้อหาดังกล่าวทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติ
นอกจากความรู้และทักษะด้านสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาแล้ว แพทย์ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นแพทย์ประจำบ้านสาขาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาจะต้องมีความรู้และทักษะด้านอื่นๆ ที่สำคัญได้แก่ ความสามารถในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ความสามารถด้านการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ การสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ การทำงานเป็นทีม การปฏิบัติงานแบบสหวิชาชีพ ความรู้ความเข้าใจในระบบสุขภาพของประเทศ ปรับตัวตามความหลากหลายทางวัฒนธรรม การบริหารจัดการ ความรู้ความเข้าใจในระบบสุขภาพ กระบวนการคุณภาพและความปลอดภัยเพื่อให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนมีความรับผิดชอบ มีจริยธรรม ทัศนคติ และเจตคติที่ดีต่อผู้ป่วย ผู้ร่วมงาน และองค์กรเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคมในการบริการทางสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

Copyright © 2019. All rights reserved.