เกี่ยวกับคณะแพทยศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

33 ปี

ที่ผลิตบัณฑิตแพทย์

61 หลักสูตร

การสอน

1535 คน

นักศึกษาปัจจุบัน

4101 คน

บัณฑิต
สู่สังคมไทย

คณะแพทยศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

เป็นส่วนราชการระดับคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม โดยเป็นคณะวิชาที่จัดตั้งขึ้นเป็นอันดับ 11 ของมหาวิทยาลัย และเป็นสถาบันทางแพทยศาสตร์ที่จัดตั้งขึ้นเป็นอันดับ 9 ของประเทศ ตามที่ได้รับการสถาปนาขึ้นใน พ.ศ. 2533 ตามแผนการขยายการเรียนการสอนในสายวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ นับเป็นคณะแรกในสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดตั้งขึ้นด้วยแนวคิดการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community-Based Learning : CBL) ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีโรงเรียนแพทย์ใดริเริ่มการเรียนการสอนดังกล่าว

การเรียนการสอนของคณะแพทยศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ได้รับการปรับปรุงหลักสูตรทุก ๆ 5 ปี ตามนโยบายของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในระยะแรกของการก่อตั้ง ทางคณะได้จัดให้มีการเรียนการสอนในรูปแบบ 100% Problem-based learning และ 0% Lectures ตามแนวทางการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาแผนใหม่ โดยมีช่วงเวลาที่ให้นักศึกษาได้เพิ่มเติมความรู้โดยตนเองเป็นผู้กำกับ (Self-directed learning) ภายหลังได้มีการปรับสัดส่วนดังกล่าวอยู่ในระดับ 80% Problem-based learning และ 20% Lectures หลักสูตรที่ใช้ในปัจจุบันคือ หลักสูตรปีพุทธศักราช 2563 โดยในระดับพรีคลินิค (ชั้นปีที่ 2-3) มีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Hybrid Problem-based Learning (Hybrid PBL) คือมีการเรียนการสอนแบบบรรยาย ประกอบกับการใช้โจทย์ปัญหาในกระบวนการกลุ่มย่อยที่อ้างอิงทางคลินิก และในระดับคลินิก (ชั้นปีที่ 4-6) มีการจัดการเรียนการสอนคล้ายคลึงกับสถาบันอื่น ๆ โดยเน้นการปฏิการทางคลินิกบนโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติและมีหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (ภาคภาษาอังกฤษ) ครบ 10 ปีในปี 2566 นี้

วิสัยทัศน์

Vision

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 ปณิธาน Thammasat for People

 วิสัยทัศน์ : ” คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นคณะแพทยศาสตร์ชั้นนำระดับสากล  สร้างผู้นำทางการแพทย์เพื่ออนาคต”
——————–
“Faculty of Medicine, Thammasat University
is one of the leading global institutions
for training the medical leaders of the future.

พันธกิจ

Mission

– ผลิตแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ และคุณธรรม (Education)
– สร้างงานวิจัยและนวัตกรรมทางด้านการแพทย์ (Research and Innovation)
– การให้บริการสุขภาพและวิชาการ  ให้บริการสุขภาพและวิชาการ เพื่อสุขภาพของคนในสังคม (Health and Academic Service)
-การบริหารจัดการองค์กรบริหารจัดการองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใส (Organization)

ค่านิยม

Values

MOVE 

M – modern ทันสมัย

O – omniscient รอบรู้

V – virtuous มีคุณธรรม

E – enthusiastic กระตือรือร้น

ประวัติ

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีนโยบายจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 โดยมี ศ.ประภาศน์ อวยชัย ดำรงตำแหน่งอธิการบดี โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการร่างโครงการจัดตั้งขึ้นชุดหนึ่ง และได้ดำเนินการอย่างจริงจังในสมัย ศาสตราจารย์คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี ดำรงตำแหน่งอธิการบดี โดยสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการประชุมครั้งที่ 8/2526 ได้ให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับนโยบายทางวิชาการของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการที่จะส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ประยุกต์ โดยเฉพาะการผลิตบัณฑิตแพทย์ และมอบหมายให้อธิการบดีดำเนินการตามนโยบาย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ดำเนินตามแผนโดยการสร้างโรงพยาบาลขึ้น โดยศาสตราจารย์คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี ดำรงตำแหน่งอธิการบดี มีคำสั่ง ที่ 747/2529 ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2529 แต่งตั้งคณะกรรมการจัดหาทุนสร้างโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มีศาสตราจารย์ สุธี นาทวรทัน เป็นประธานกรรมการ และ นายประมวล สภาวสุ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในขณะนั้น เป็นประธานกิตติมศักดิ์ ระดมทุนจากศิษย์เก่าทั้งในประเทศและต่างประเทศ การดำเนินการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ ได้ดำเนินการต่อมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นชอบด้วยตามหนังสือของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร.0203/126 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2529 ซึ่งอธิการบดีได้พบปลัดทบวงมหาวิทยาลัย ขอดำเนินการโรงพยาบาลให้ครบ 1 ปีก่อน เพื่อเป็นพื้นฐานของคณะแพทยศาสตร์ แล้วจึงจะดำเนินการเรื่องคณะแพทยศาสตร์ โดยมีการสานต่อในสมัย ศาสตราจารย์เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม ดำรงตำแหน่งอธิการบดีในปี พ.ศ. 2531 ในการดำเนินการได้มีการประสานกับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อหาแนวทางร่วมกันในการผลิตบัณฑิตแพทย์พึงประสงค์ อันสอดคล้องกับนโยบายผู้บริหารมหาวิทยาลัย และนโยบายของทบวงมหาวิทยาลัย ซึ่งสภามหาวิทยาลัยได้พิจารณาอนุมัติโครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ ในเดือนสิงหาคม 2531 คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ขึ้นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2533 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชกฤษฎีกา การจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2533 มีผลใช้บังคับในวันถัดมา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นคณะแพทยศาสตร์อันดับที่ 9 ของประเทศไทย มีการแบ่งส่วนราชการของคณะแพทยศาสตร์ เป็น 4 ส่วน คือ สำนักงานเลขานุการสถานวิทยาศาสตร์พรีคลินิก สถานวิทยาศาสตร์คลินิก และโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

ในปี พ.ศ. 2543 สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งขณะนั้น ศาสตราจารย์ คุณหญิง นงเยาว์ ชัยเสรี เป็นนายสภามหาวิทยาลัย มีคำสั่งให้การบริหารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เป็นอิสระโดยสังกัดสำนักงานอธิการบดี แยกออกจากคณะแพทยศาสตร์ ดังนั้นด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการประจำคณะจึงได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างบริหารคณะ โดยถือหลักการปรับโครงสร้างของคณะแพทยศาสตร์ให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ ของคณะแพทยศาสตร์

ในปี พ.ศ. 2553 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนมาเป็นระยะเวลาครบ 20 ปี จึงได้มีโครงการจัดทำหนังสืออนุสรณ์ กิจกรรมทางวิชาการรวมถึงการประชุมวิชาการต่าง ๆ และมีการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองในวาระดังกล่าว อีกทั้งได้มีการจัดทำตราสัญลักษณ์ “20 ปี แพทย์ธรรมศาสตร์” เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่าง ๆ ของคณะตลอดปีการศึกษาอีกด้วย

ในปี พ.ศ. 2563 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนมาเป็นระยะเวลาครบ 30 ปี ซึ่งเป็นพันธกิจหลักของคณะ อีกทั้งยังมีการวิจัย การบริการสุขภาพและวิชาการ รวมถึงการบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพและดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนเห็นผลลัพธ์เป็นรูปธรรมหลาย ๆ อย่าง อาทิเช่น การพัฒนาอาจารย์ การรับรองหลักสูตรในระดับสากล การตีพิมพ์ของงานวิจัยในวารสารระดับนานาชาติ ภายใต้โครงสร้างบริหารที่แยกเป็น 5 หน่วยงานหลัก ได้แก่ สถานวิทยาศาสตร์พรีคลินิก สถานวิทยาศาสตร์คลินิก สถานเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัว สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ และบัณฑิตศึกษา คณะแพทยศาสตร์จะก้าวสู่อนาคตที่เป็นไปตามวิสัยทัศน์ที่ตั้งใจไว้ คือ “เป็นคณะแพทยศาสตร์ชั้นนำระดับสากลสร้างผู้นำทางการแพทย์สู่สังคมอย่างยั่งยืน” อีกทั้งมีการก่อตั้งศูนย์วิจัยทางคลินิก (Clinical Research Center: CRC) และมีหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (ภาคภาษาอังกฤษ) ครบ 10 ปีในปี พ.ศ.2566 นี้

ในปี พ.ศ. 2566 คณะแพทยศาสตร์ มหาลัยธรรมศาสตร์จะได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนครบ 33 ปี ซึ่งมีการพัฒนาปรับปรุงโครงสร้าง ได้แก่การปรับปรุงห้องเรียนรวม และ ให้มี colearning space มากขึ้น รวมทั้งก่อสร้างอาคาร ศูนย์ฝึกทักษะทางการแพทย์ธรรมศาสตร์ (Thammasat Medical Skill and Education Center: T-MEd) เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษาและการให้บริการทางการแพทย์แก่ชุมชน ส่งเสริมการวิจัยของอาจารย์และบุคลากร รวมทั้งจะได้สนับสนุนการศึกษาแพทยศาสตร์และการบริการทางการแพทย์ในประเทศไทยต่อไป

ทำเนียบคณบดี

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ทำเนียบคณบดี

ศ.นพ. อารี วัลยะเสวี


ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 9 เม.ย. 2533 - 30 ก.ย. 2539

ศ.นพ. สุชาติ อินทรประสิทธิ์


ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 1 ต.ค. 2539 - 8 ส.ค. 2542

ศ.นพ. เฉลิม วราวิทย์ (รักษาราชการ)


ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 9 ส.ค. 2542 - 30 พ.ย. 2542

รศ.นพ. กัมมาล กุมาร ปาวา


ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 1 ธ.ค. 2542 - 30 พ.ย. 2548

รศ.นพ. จิตตินัดด์ หะวานนท์


ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 1 ธ.ค. 2548 - 30 ก.ย. 2554

รศ.นพ. ปรีชา วาณิชยเศรษฐกุล


ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 1 ม.ค. 2555 - 31 ธ.ค.2560

รศ.นพ. ดิลก ภิยโยทัย


ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 1 ม.ค. 2561 - 31 ม.ค. 2567

รศ.พญ. อัจฉรา ตั้งสถาพรพงษ์


ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 1 ก.พ. 2567 - ปัจจุบัน

รายนามผู้บริหาร

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รศ.พญ.อัจฉรา ตั้งสถาพรพงษ์

คณบดีคณะแพทยศาสตร์
รองคณบดี

รศ.พญ.อารยา ศรัทธาพุทธ

รองคณบดีฝ่ายวิชาการ

รศ.นพ.สมบัติ มุ่งทวีพงษา

รองคณบดีฝ่ายบริการสุขภาพและวิชาการ

รศ.นพ.ณรงค์กร ซ้ายโพธิ์กลาง

รองคณบดีฝ่ายการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์

ผศ.ดร.นพ.สิระ นันทพิศาล

รองคณบดีฝ่ายบริหารและวิเทศสัมพันธ์

รศ.พญ.ทิพาพร ธาระวานิช

รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม

 

ผู้ช่วยคณบดี

ศ.นพ.ภาสกร ศรีทิพย์สุโข

ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบัณฑิตศึกษา

ผศ.พญ.วิราภรณ์ ยอดวิศิษฎ์ศักดิ์

ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายคลังและพัสดุ

ผศ.นพ.ประกาศิต สงวนจิตร

ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริหารและพัสดุ

ผศ.นพ.ภัทรวิน ภัทรนิธิมา

ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ

รศ.ดร.ศิริกุล มะโนจันทร์

ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม

รศ.พญ.ต้องตา นันทโกมล

ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและศิษย์เก่าสัมพันธ์

ผศ.พญ.ศิริภัทร เกียรติพันธุ์สดใส

ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพ

ผศ.ดร.เดชา บูรณจิตร์ภิรมย์

ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์

ศ.นพ.ธนา ขอเจริญพร

ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์

ผศ.อมรณัฏฐ์ ทับเปีย

ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการนักศึกษา

ผศ.พญ.พิชญาภา รุจิวิชชญ์

ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริการสุขภาพและวิชาการ

รศ.นพ.อัสนี ทองอยู่

ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายเทคโนโลยีดิจิทัล
ผู้ช่วยรองคณบดี

ผศ.พญ.นิดา ไรท์

ผู้ช่วยรองคณบดีฝ่ายบริหารและวิเทศสัมพันธ์

อ.พญ.สุภาวี แสงบุญ

ผู้ช่วยรองคณบดีฝ่ายบริหารและวิเทศสัมพันธ์

รศ.พญ.พชรพรรณ สุรพลชัย

ผู้ช่วยรองคณบดีฝ่ายบริการสุขภาพและวิชาการ

รศ.นพ.อดินันท์ อภิวัฒน์การุญ

ผู้ช่วยรองคณบดีฝ่ายบริการสุขภาพและวิชาการ

ผศ.ดร.กัลยา อารีย์

ผู้ช่วยรองคณบดีฝ่ายวิชาการ

ผศ.นพ.อินทนนท์ อิ่มสุวรรณ

ผู้ช่วยรองคณบดีฝ่ายวิชาการ

รศ.นพ.อมรพล กันเลิศ

ผู้ช่วยรองคณบดีฝ่ายวิชาการ

ผศ.ดร.ปรรณณวัชญ์ ไชยวัฒนนันทน์

ผู้ช่วยรองคณบดีฝ่ายวิชาการ

รศ.นพ.ณวพล กาญจนารัณย์

ผู้ช่วยรองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม

ผศ.ดร.พญ.มุทิตา พนาสถิตย์

ผู้ช่วยรองคณบดีฝ่ายการนักศึกษา
Free WordPress Themes, Free Android Games