https://nefula.com/
https://seodio.com/
https://bookofraonlinespiele.com/
https://thetural.com/
https://bluesky.namb.net/
https://belihoster.com/
https://themescorners.com/
https://143.198.203.123/
https://165.22.105.72/
https://178.128.48.164/
https://165.22.104.76/
http://132.248.132.82/politica_viral/
http://puskesmassungaisarik.padangpariamankab.go.id/awp/xdana/
http://puskesmassungaisarik.padangpariamankab.go.id/awp/xdemo/
http://puskesmassungaisarik.padangpariamankab.go.id/awp/xgacor/
http://puskesmassungaisarik.padangpariamankab.go.id/awp/xthailand/
https://mbkm.uib.ac.id/awp/maxwin/
https://mbkm.uib.ac.id/awp/demo/
https://mbkm.uib.ac.id/awp/dana/
https://mbkm.uib.ac.id/awp/thailand/
https://dukcapil.gorontalokab.go.id/awp/bola/
https://dukcapil.gorontalokab.go.id/awp/dana/
https://dukcapil.gorontalokab.go.id/awp/demo/
https://dukcapil.gorontalokab.go.id/awp/gacor/
https://dukcapil.gorontalokab.go.id/awp/rtp/
https://dukcapil.gorontalokab.go.id/awp/thailand/
agencuan
bet188
bni4d
bri4d
btn4d
dragon77
ladangtoto
mega88
qqcuan
sonic77
tambang88
https://360.uin-malang.ac.id/awp/dana/
https://360.uin-malang.ac.id/awp/demo/
https://360.uin-malang.ac.id/awp/thailand/
http://isaime2019.snttm.trisakti.ac.id/awp/gacor/
https://paketwisatabanyuwangi.id/
https://zoyacosmetics.id/
https://dewantik.sragenkab.go.id/docs/jdih/
https://puskesmas-sumberlawang.sragenkab.go.id/galeri/pu/

Neurosurgery

About us

Our History
  • ประวัติศาสตร์ของการทำผ่าตัดประสาทศัลยศาสตร์ ในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์

    โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2530 ซึ่งเป็นปีที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระชนมพรรษาครบ 60 พรรษา ณ เวลานั้น  โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติได้ถือกำเนิดขึ้นและเปิดให้บริการที่ ทุ่งรังสิต  ในเวลาแรกนั้นยังเป็นโรงพยาบาลขนาดเล็ก ศักยภาพในช่วงแรกสามารถทำได้เพียงการผ่าตัดเล็กเท่านั้น แรกเริ่มโรงพยาบาลมีแพทย์เพียง 8 คน และในเวลานั้นยังไม่สามารถทำการผ่าตัดทางสมองได้เนื่องจากยังไม่มีประสาทศัลยแพทย์รวมทั้งอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการทำผ่าตัดทางระบบประสาท

    ในเวลาต่อมามีการขยายบริการพัฒนาเป็นโรงพยาบาล ขนาด 90 เตียง มีการขยายความสามารถในการรักษาพยาบาลมากขึ้น สามารถเปิดห้องผ่าตัด ได้ 2-4 ห้องในเวลาทำการและ 1 ห้องในช่วงนอกเวลาทำการ  ในช่วงแรกนั้นผู้ป่วยที่มีอาการทางสมองที่จำเป็นต้องทำ CT scan สมองยังมีความจำเป็นต้องส่งไปทำนอกโรงพยาบาลเนื่องจากยังไม่มีเครื่อง CT scan ในโรงพยาบาลเพราะเป็นอุปกรณ์ราคาสูง  การส่งคนไข้ไปทำนอกสถานที่นั้นมีทั้งค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าเดินทางโดยใช้รถฉุกเฉินของโรงพยาบาลเอง เจ้าหน้าที่ที่ต้องเดินทางไปด้วยกันกับผู้ป่วย และรวมถึงเวลาที่เสียไปในการตรวจวินิจฉัยและรักษาหากพบโรคทางสมอง ประกอบกับช่วงนั้นก็ยังไม่มีประสาทศัลยแพทย์ในโรงพยาบาล  ดังนั้นถ้าหากมีผู้ป่วยฉุกเฉินทางระบบประสาทยังจำเป็นต้องส่งต่อผู้ป่วยไปรักษาโรงพยาบาลที่อื่น  ในเวลานั้น การจะส่งต่อผู้ป่วยทางระบบประสาทไปรักษาต่อที่ รพ.อื่นค่อนข้างทำได้ยาก เนื่องจากปัญหาความขาดแคลนประสาทศัลยแพทย์ในประเทศไทยและจำนวนเตียงที่ใช้รักษาผู้ป่วยประเภทนี้มักไม่มีว่างที่จะรับผู้ป่วยใหม่ได้  จึงทำให้อัตราการเสียชีวิตและพิการของคนไข้มีค่อนข้างสูงมาก

    ต่อมาในปี พ.ศ. 2533 ได้มีการเปิดคณะแพทยศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยในช่วงแรกการเรียนการสอนปรีคลินิก จะทำที่คณะแพทยศาสตร์ แต่เมื่อต้องขึ้นปฏิบัติงานในชั้นคลินิก จะให้นักศึกษาแพทย์ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ ร่วมกับรพศ. สระบุรี ซึ่งถือเป็นโรงพยาบาลพี่เลี้ยงในช่วงนั้น แต่อย่างไรก็ตามการดูแลรักษาผู้ป่วยทางระบบประสาทฉุกเฉิน ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะหรือผู้ป่วยที่มีเลือดออกในสมองก็ยังคงเป็นปัญหาของการดูแลของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ในเวลานั้นอยู่  ยังมีจำเป็นต้องส่งต่อผู้ป่วยไปดูแลรักษาที่อื่น  ซึ่งในช่วงนั้นโรงพยาบาลที่มีศักยภาพมากพอที่จะทำการทำผ่าตัดสมองได้คือ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ

    ในปี พ.ศ. 2536 โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ ซึ่งยังอยู่ภายใต้การบริหารงานของคณะแพทยศาสตร์ในขณะนั้น ได้เปิดรับแพทย์ใช้ทุนรุ่นแรกเพื่อเข้ามาพัฒนาเป็นอาจารย์แพทย์ และได้รับ นพ.พรชัย ยอดวิศิษฏ์ศักดิ์ เข้ามาทำงานสังกัดในภาควิชาศัลยศาสตร์  นพ.พรชัยได้เห็นถึงความจำเป็นในการดูแลรักษาผู้ป่วยทางสมองและความยากลำบากในการส่งต่อผู้ป่วยทางระบบประสาทไปรักษาต่อที่อื่น ดังนั้นท่านจึงได้ไปศึกษาต่อทางประสาทศัลยศาสตร์ที่โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ และกลับมาปฏิบัติงานเป็น ประสาทศัลยแพทย์คนแรก ของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ในปี พ.ศ. 2540 โดยผู้ป่วยรายแรกที่ทำผ่าตัดสมองที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์คือ ผู้ป่วยที่มีเลือดออกในสมองจากหลอดเลือดสมองแตก

    ในเวลานั้น การผ่าตัดสมองยังเป็นเรื่องที่ใหม่มากสำหรับห้องผ่าตัด รวมทั้งการดูแลรักษาหลังการผ่าตัดก็ยังมีความซับซ้อนต่อทีมรักษา ทั้งการประเมินอาการผู้ป่วย จึงต้องมีการสอน และฝึกฝนบุคลากรในช่วงนั้น  อีกทั้งยังมีความต้องการอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการทำผ่าตัดและการดูแลผู้ป่วยหลังการผ่าตัดเพิ่ม แต่กล่าวได้ว่านี่คือจุดเริ่มต้นของประสาทศัลยศาสตร์แห่งโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติอย่างแท้จริง

    การก่อตั้งหน่วยประสาทศัลยศาสตร์

    แรกเริ่มของการทำงานด้านประสาทศัลยศาสตร์ในโรงพยาบาลยังเป็นไปด้วยความยากลำบาก ด้วยจำนวนผู้ป่วยทางประสาทศัลยศาสตร์เริ่มมีจำนวนมากขึ้นแต่ในขณะเดียวกันนั้น การดูแลผู้ป่วยทางระบบประสาทนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ความเชี่ยวชาญของทั้งบุคลากรและอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งยังขาดแคลน  รวมทั้งความขาดแคลนหออภิบาลผู้ป่วย  เครื่องมือผ่าตัดจุลศัลยกรรมระบบประสาทและกล้องผ่าตัดจุลศัลยกรรม  เนื่องด้วยเครื่องมือผ่าตัดทางระบบประสาทเป็นอุปกรณ์ครุภัณท์ที่มีราคาสูง  ภาควิชาจึงจำเป็นต้องทำแผนพัฒนาระยะยาวทั้งในด้านบุคลากรและงบประมาณที่ต้องใช้ในการพัฒนาการบริการทางด้านประสาทศัลยศาสตร์

    ในปีพ.ศ. 2542 ได้มีอาจารย์ประสาทศัลยแพทย์กลับมาจากการศึกษาเฉพาะทางอีก 1 ท่าน คือ นพ. ภัทรวิทย์ รักษ์กุล  หน่วยจึงได้มีโอกาสวางแผนระยะยาวในด้านอัตรากำลังที่เหมาะสมกับโรงพยาบาลธรรมศาสตร์รวมทั้งคณะแพทยศาสตร์ที่เริ่มมีจำนวนอาจารย์มากพอสำหรับการเรียนการสอนและงานบริการวิชาการรวมถึงงานวิจัย ในขณะนั้นได้มีการปรับเปลี่ยนการบริหารโดยแยกการบริหารโรงพยาบาลออกจากคณะแพทยศาสตร์ ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนสัดส่วนการทำงาน ภาระงาน และโครงสร้างของโรงพยาบาลอย่างมาก

    ในเวลานั้นได้เริ่มมีการเปิดการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านบางสาขาในโรงพยาบาล เช่น อายุรกรรม ศัลยกรรมกระดูก และจักษุวิทยา ทำให้ทางภาควิชาศัลยศาสตร์เล็งเห็นความจำเป็นในการเปิดฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านทางศัลยศาสตร์

    การวางแผนการเปิดการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน

    ในช่วงนั้นเองได้มีการวางแผนการเปิดฝึกอบรมสาขาศัลยศาสตร์ทั่วไปในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ ในตอนนั้นราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทยได้ใช้เวลาประเมินภาควิชาศัลยศาสตร์ของธรรมศาสตร์อยู่หลายปี แล้วจึงอนุญาตให้มีศักยภาพในการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาศัลยศาสตร์ทั่วไป จนสามารถเปิดฝึกอบรมได้ในปี พ.ศ. 2553  ต่อมาทางหน่วยประสาทศัลยศาสตร์จึงได้มีการวางแผนที่จะทำการพัฒนาหน่วยงานให้เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาประสาทศัลยศาสตร์เช่นกัน

    ทางหน่วยได้วางแผนเพิ่มอาจารย์แพทย์เข้ามาในหน่วย เพื่อให้มีทั้งจำนวนและชนิดของสาขาที่เหมาะสมสำหรับการเปิดฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านประสาทศัลยศาสตร์  โดยได้ นพ. ดิลก ตันทองทิพย์, นพ. ปรีด์ นิมมานนิตย์, นพ. ปรัชญา ปัญญารัตน์ และนพ. เรวัฒน์ น้อยพิทักษ์ มาร่วมงานตามลำดับ โดยเดิมวางแผนที่จะเปิดการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านให้ได้ในปี พ.ศ. 2560  อย่างไรก็ตามด้วยศักยภาพของหน่วยและการมีจำนวนเคสผ่าตัดที่มากพอทางหน่วยจึงสามารถเปิดการฝึกอบรมได้เร็วกว่ากำหนด โดยสามารถเปิดได้ในปี พ.ศ. 2558

    การเปิดฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาประสาทศัลยศาสตร์

    โดยในปีพ.ศ. 2558 ทางหน่วยประสาทศัลยศาสตร์ได้มีแพทย์ใช้ทุนของโรงพยาบาลที่มีความสนใจที่จะเป็นประสาทศัลยแพทย์โดยมีทั้ง นพ. วิชญ์ ยินดีเดชและนพ. กันต์ ดวงประเสริฐ  แพทย์ใช้ทุนทั้งคู่มีความสนใจและอยากที่จะเป็นแพทย์ประจำบ้านของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ในตอนนั้นทางราชวิทยาลัยประสาทศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย ได้มีคณะกรรมการซึ่งเป็นตัวแทนอฝส.มาตรวจประเมินศักยภาพ และอนุญาตศักยภาพให้สามารถเปิดอนุมัติการฝึกอบรมได้ 1 ตำแหน่ง โดยได้ นพ. วิชญ์ ยินดีเดช  เป็นแพทย์ประจำบ้าน รุ่นที่ 1  และสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2563 ใช้เวลาศึกษา 5 ปีตามเกณท์ฝึกอบรม  ซึ่งในระหว่างกระบวนการฝึกอบรม ทางหน่วยได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภายใน รูปแบบของกิจกรรมวิชาการให้สอดคล้องและเหมาะสมกับโครงสร้างสำหรับการเป็นสถาบันฝึกอบรมเฉพาะทางทางด้านประสาทศัลยศาสตร์ที่ดีและเป็นที่ยอมรับในประเทศไทย

Vision & Mission

วิสัยทัศน์

เป็นสถาบันแพทยศาสตร์ชั้นนำ เพื่อประชาชน สร้างผู้นำทางการแพทย์ และงานวิจัย มุ่งสู่สากล

 

พันธกิจ

สาขาวิชาประสาทศัลยศาสตร์ ภาควิชาศัลยศาสตร์  คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงมีจุดมุ่งหมายในการให้บริการการรักษาผู้ป่วยด้านประสาทศัลยกรรมต่างๆ  ด้วยความพร้อมด้านบุคคลากร สถานที่ และอุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทันสมัยอย่างครบวงจร นอกจากนี้สาขาวิชามีความมุ่งมั่นในการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาประสาทศัลยศาสตร์ เพื่อให้เป็นศัลยแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานของราชวิทยาลัยประสาทศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย ตอบสนองต่อความต้องการและความคาดหวังของผู้ป่วย สังคมและชุมชน ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าในยุคโลกาภิวัฒน์และสังคมข่าวสาร มีความสามารถในการรวบรวมข้อมูล สังเคราะห์และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทำการวิจัยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม รวมทั้งเป็นประสาทศัลยแพทย์ซึ่งมีคุณธรรม จริยธรรม และมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีงามเหมาะสมกับวิชาชีพ

Faculties

Chief

Associate Professor Pataravit Rukskul

Senior Chief

Assistant Professor Pornchai Yodwisithsak

 

Attending Neurosurgeons

                                    

Assistant Professor Dilok Tantongtip                                           Assistant Professor Pree Nimmannitya

 

                                        

Assistant Professor Prachya Punyarat                                                                Dr. Raywat Noiphithak

 

Dr. Vich Yindeedej

 

 

Dr. Gahn Duangprasert

Our service

การให้บริการ

หน่วยประสาทศัลยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้บริการรักษาโรคทางระบบประสาททุกประเภท อันได้แก่

  • การรักษาโรคเนื้องอกในสมองและบริเวณฐานกระโหลก (Brain Tumor and Skull Base Surgery)
  • การรักษาโรคเนื้องอกต่อมใต้สมองและการผ่าตัดส่องกล้อง (Pituitary Tumor and Neuroendoscopic Surgery)
  • การรักษาโรคหลอดเลือดสมองทั้งวิธีการผ่าตัดและการสวนหลอดเลือด (Hybrid Cerebrovascular Neurosurgery)
  • การรักษาโรคกระดูกสันหลังและเนื้องอกกดทับไขสันหลัง (Spine disease)
  • การรักษาโรคเนื้องอกและความผิดปกติทางระบบประสาทในเด็ก (Pediatric Neurosurgery)
  • การรักษาโรคลมชักและการเคลื่อนไหวผิดปกติ (Epilepsy and Functional Neurosurgery)
  • การรักษาโรคฉุกเฉินและอุบัติเหตุทางระบบประสาท ( Neurotrauma and Neurocritical care)

 

Our service

We provide service covering all fields in Neurosurgery including:

  • Brain tumor and Skull base tumor
  • Endoscopic Pituitary and Skull base Surgery
  • Hybrid Vascular Neurosurgery
  • Spine disease
  • Pediatric Neurosurgery
  • Epilepsy and Functional Neurosurgery
  • Emergency, Neurotrauma and Neurocritical care
For patients

ตารางการออกตรวจผู้ปวยนอกของหน่วยศัลยกรรมระบบประสาท

ในเวลาราชการ

 

(9.00 – 12.00 น.)

นอกเวลาราชการ

(คลินิกพิเศษ)

(16.00 – 20.00 น.)

วันจันทร์ ผศ.นพ.พรชัย ยอดวิศิษฏ์ศักดิ์

นพ.วิชญ์ ยินดีเดช

 

วันอังคาร รศ.นพ.ภัทรวิทย์ รักษ์กุล

ผศ.นพ.ปรัชญา ปัญญารัตน์

 

ผศ.นพ.ปรีดิ์ นิมมานนิตย์
วันพุธ ผศ.นพ.ดิลก ตันทองทิพย์

นพ.กันต์ ดวงประเสริฐ

 

วันพฤหัสบดี ผศ.นพ.ปรีดิ์ นิมมานนิตย์ ผศ.นพ.พรชัย ยอดวิศิษฏ์ศักดิ์

 

 

วันศุกร์ นพ.เรวัฒน์ น้อยพิทักษ์

 

 

ผศ.นพ.ปรัชญา ปัญญารัตน์

 

ติดต่อสอบถาม: 02-926-9137-8 (วันจันทร์-วันศุกร์, 8.00 – 16.00 น.)

กรุณาเยี่ยมชม โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ สำหรับนัดหมายหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

 

 

Neurosurgery Outpatient Clinic

During office hours 

(9 am – 12 pm)

After-hours(VIP clinic)

(4 pm – 8 pm)

Monday Dr.Pornchai YodwisithsakDr.Vich Yindeedej

 

Tuesday Dr.Pataravit RukskulDr.Prachya Punyarat

 

Dr.Pree Nimmannitya
Wednesday Dr.Dilok TantongtipDr.Gahn Duangprasert

 

Thursday Dr.Pree Nimmannitya Dr.Pornchai Yodwisithsak 

 

Friday Dr.Raywat Noiphithak 

 

Dr.Prachya Punyarat

Contact: +66-2-926-9137-8 (Monday-Friday, 8 am – 4 pm)

For more information, please visit Thammasat University Hospital’s Website

Education & Training
Research & Innovation

Our Publication

  • Yindeedej V, Nimmannitya P, Noiphithak R, Punyarat P, Tantongtip D. Clinical Outcome in Cerebral Vasospasm Patients Treated with and without Intra-Arterial Nimodipine Infusion [published online ahead of print, 2021 Nov 22]. J Neurol Surg A Cent Eur Neurosurg. 2021;10.1055/s-0041-1735860. doi:10.1055/s-0041-1735860
  • Duangprasert G, Tantongtip D. Ruptured aneurysm arising at anterior spinal artery as the collateral circulation with bulbar artery supply to posterior inferior cerebellar artery treated by proximal occlusion and occipital artery-posterior inferior cerebellar artery bypass: a case report and literature review. Acta Neurochir (Wien). 2021;163(11):2977-2982. doi:10.1007/s00701-021-04989-8
  • Noiphithak R, Mektripop N, Thamwongskul C. Rapidly progressive medulloblastoma initially mimicking idiopathic intracranial hypertension and Chiari I malformation: A case report. Int J Surg Case Rep. 2021;85:106147. doi:10.1016/j.ijscr.2021.106147
  • Yindeedej V, Kittisangvara L. Melanotic Neuroectodermal Tumor of Infancy at Skull: Rare and Rapid-Growing Tumor but Histologically Benign. Pediatr Neurosurg. 2021;56(3):306-311. doi:10.1159/000515686
  • Noiphithak R, Yanez-Siller JC, Nimmannitya P, Rukskul P. Transorbital Endoscopic Approach for Repair of Frontal Sinus Cerebrospinal Fluid Leaks: Case-Series. Laryngoscope. 2021;131(8):1753-1757. doi:10.1002/lary.29161
  • Noiphithak R, Yindeedej V, Ratanavinitkul W, Duangprasert G, Tantongtip D, Liengudom A. Comparison of Minimally Invasive and Pterional Craniotomies for Ruptured Anterior Circulation Aneurysms: A Propensity Score Matched Analysis. World Neurosurg. 2020;138:e289-e298. doi:10.1016/j.wneu.2020.02.099
  • Lertudomphonwanit T, Bridwell KH, Kelly MP, et al. Relationship of the character of rod fractures on outcomes following long thoracolumbar fusion to the sacrum for adult spinal deformity. Spine J. 2020;20(9):1452-1463. doi:10.1016/j.spinee.2020.05.553
  • Noiphithak R, Yanez-Siller JC, Revuelta Barbero JM, Otto BA, Carrau RL, Prevedello DM. Comparative Analysis Between Lateral Orbital Rim Preservation and Osteotomy for Transorbital Endoscopic Approaches to the Cavernous Sinus: An Anatomic Study. Oper Neurosurg (Hagerstown). 2019;16(1):86-93. doi:10.1093/ons/opy054
  • Noiphithak R, Yanez-Siller JC, Revuelta Barbero JM, et al. Comparative Analysis of the Exposure and Surgical Freedom of the Endoscopic Extended Minipterional Craniotomy and the Transorbital Endoscopic Approach to the Anterior and Middle Cranial Fossae. Oper Neurosurg (Hagerstown). 2019;17(2):174-181. doi:10.1093/ons/opy309
  • Noiphithak R, Yanez-Siller JC, Revuelta Barbero JM, Otto BA, Carrau RL, Prevedello DM. In Reply: Comparative Analysis Between Lateral Orbital Rim Preservation and Osteotomy for Transorbital Endoscopic Approaches to the Cavernous Sinus: An Anatomic Study. Oper Neurosurg (Hagerstown). 2019;16(1):E38-E39. doi:10.1093/ons/opy333
  • Revuelta Barbero JM, Noiphithak R, Yanez-Siller JC, González-Llanos F. Commentary: A Pilot Comparison of Multispectral Fluorescence to Indocyanine Green Videoangiography and Other Modalities for Intraoperative Assessment in Vascular Neurosurgery. Oper Neurosurg (Hagerstown). 2019;17(1):E7-E8. doi:10.1093/ons/opy310
  • da Costa MDS, Hardesty DA, Priddy B, Noiphithak R, Revuelta Barbero JM, Prevedello DM. Extended Supraorbital Approach with Modified Eyebrow Incision: Technical Note. World Neurosurg. 2019;128:354-359. doi:10.1016/j.wneu.2019.05.074
  • Revuelta Barbero JM, Subramaniam S, Noiphithak R, et al. The Eustachian Tube as a Landmark for Early Identification of the Abducens Nerve During Endonasal Transclival Approaches. Oper Neurosurg (Hagerstown). 2019;16(6):743-749. doi:10.1093/ons/opy275
  • Noiphithak R, Yanez-Siller JC, Revuelta Barbero JM, Otto BA, Carrau RL, Prevedello DM. Quantitative analysis of the surgical exposure and surgical freedom between transcranial and transorbital endoscopic anterior petrosectomies to the posterior fossa [published correction appears in J Neurosurg. 2018 Nov 16;131(2):635-636]. J Neurosurg. 2018;131(2):569-577. doi:10.3171/2018.2.JNS172334
  • Noiphithak R, Yanez-Siller JC, Revuelta Barbero JM, Carrau RL, Prevedello DM. Letter to the editor: endoscopic transorbital route to the petrous apex: a feasibility anatomic study. Acta Neurochir (Wien). 2018;160(11):2249-2250. doi:10.1007/s00701-018-3692-8
  • Revuelta Barbero JM, Noiphithak R, Yanez-Siller JC, et al. Expanded Endoscopic Endonasal Approach to the Inframeatal Area: Anatomic Nuances with Surgical Implications. World Neurosurg. 2018;120:e1234-e1244. doi:10.1016/j.wneu.2018.09.052
  • Lertudomphonwanit T, Kelly MP, Bridwell KH, et al. Rod fracture in adult spinal deformity surgery fused to the sacrum: prevalence, risk factors, and impact on health-related quality of life in 526 patients. Spine J. 2018;18(9):1612-1624. doi:10.1016/j.spinee.2018.02.008
  • Punyarat P, Buchowski JM, Klawson BT, Peters C, Lertudomphonwanit T, Riew KD. Freehand technique for C2 pedicle and pars screw placement: is it safe?. Spine J. 2018;18(7):1197-1203. doi:10.1016/j.spinee.2017.11.010
  • Noiphithak R, Yindeedej V, Thamwongskul C. Cerebellopontine angle medulloblastoma with extensive nodularity in a child: case report and review of the literature. Childs Nerv Syst. 2017;33(5):839-842. doi:10.1007/s00381-016-3325-6
  • Noiphithak R, Liengudom A. Recent Update on Carotid Endarterectomy versus Carotid Artery Stenting. Cerebrovasc Dis. 2017;43(1-2):68-75. doi:10.1159/000453282
  • Noiphithak R, Veerasarn K. Clinical predictors for survival and treatment outcome of high-grade glioma in Prasat Neurological Institute. Asian J Neurosurg. 2017;12(1):28-33. doi:10.4103/1793-5482.148791
  • Noiphithak R, Doungprasert G. A case of disseminated central nervous system sparganosis. Surg Neurol Int. 2016;7(Suppl 39):S958-S961. Published 2016 Dec 5. doi:10.4103/2152-7806.195236
  • Nimmannitya P, Goto T, Terakawa Y, et al. Characteristic of optic canal invasion in 31 consecutive cases with tuberculum sellae meningioma. Neurosurg Rev. 2016;39(4):691-697. doi:10.1007/s10143-016-0735-6
  • Tantongtip D, Spetzger U, Arnold S, von Schilling A, Kiriyanthan G. How Relevant Is Occlusion of Associated Developmental Venous Anomaly in Cerebral Cavernoma Surgery? A Clinical and Radiographic Comparison Study. J Neurol Surg A Cent Eur Neurosurg. 2016;77(2):111-117. doi:10.1055/s-0035-1554810
  • Tantongtip D, Fratianni A, Jenkner J, Arnold S, Spetzger U. Surgical Treatment of Inadvertent Internal Carotid Artery Lesion by Extraintracranial High-flow Bypass. A Case Report and Review of the Literature. J Neurol Surg Rep. 2015;76(1):e100-e104. doi:10.1055/s-0035-1551670
  • Tantongtip DRukkul P. Symptomatic leptomeningeal and entirely intramedullary spinal cord metastasis from supratentorial glioblastoma: a case report. J Med Assoc Thai. 2011;94 Suppl 7:S194-S197.
  • Muengtaweepongsa S, Prapa-Anantachai P, Dharmasaroja PA, Rukkul P, Yodvisitsak P. External validation of the SEDAN score: The real world practice of a single center. Ann Indian Acad Neurol. 2015;18(2):181-186. doi:10.4103/0972-2327.150592
  • Kuonsongtum V, Paiboonsirijit S, Kesornsak W, et al. Result of full endoscopic uniportal lumbar discectomy: preliminary report. J Med Assoc Thai. 2009;92(6):776-780.
  • Rukskul P. Lumbo-peritoneal shunting improved spinal cord compression due to a large anterior sacral meningocele. J Med Assoc Thai. 2005;88(2):265-268.
  • Rukskul P. Ecstasy (MDMA) ingestion related with severe hyponatremia in patients with mild head injury. J Med Assoc Thai. 2005;88(1):41-44.

Ongoing Projects

....

Copyright © 2017. All rights reserved.
LinksLinks2